โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 83 – ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

การทดสอบคัดกรองควรมีความแม่นยำ (Accurate) และระดับ PSA อาจสูงขึ้น (Elevated) และผันผวน (Fluctuate) ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา

ในอดีต ระดับ PSA ที่ต่ำกว่า 4.0 ng/mL [Nanogram per millimeter] ถือว่า (Considered) เป็นปกติ และระดับที่สูงกว่า 4.0 มักจะถูกประเมิน (Evaluate) เพิ่มเติมด้วยการตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) ต่อมลูกหมาก มะเร็งสามารถเพิ่มระดับ PSA เช่นเดียวกับการขยายตัว (Enlargement) ของต่อมลูกหมาก, การติดเชื้อ (Infected) ทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract), และการติดเชื้อต่อมลูกหมาก

การให้ยา (Medication) บางชนิดอาจลดระดับ PSA ดังนั้นระดับ PSA อาจไม่แม่นยำโดยมีข้อผิดพลาด (False) สูงหรือต่ำเกินไป การทดสอบคัดกรอง (Screen) ควรมีความเสี่ยงต่ำ การเจาะเลือด (Blood drawing) เพื่อตรวจหา PSA ไม่มีเสี่ยง แต่การตัดชิ้นเนื้อเพื่อติดตามผล (Follow-up) หาก PSA สูง ก็อาจมีความเสี่ยง

การตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากอาจนำไปสู่การกลั้นปัสสาวะ (Incontinence) และการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction) การทดสอบคัดกรองควรลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากมะเร็งด้วย ปัจจุบัน ข้อมูลจากการทดลอง (Trial) ไม่ได้แสดงให้เห็นการลดอัตราการเสียชีวิตทุกสาเหตุจากการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

เหตุผล น่าจะเกิดจาก (Stem from) การอยู่รอดระยะยาว (Long-term survival) ของมะเร็งต่อมลูกหมากมีอัตราสูง อัตราการอยู่รอดใน 10 ปีของมะเร็งต่อมลูกหมากสำหรับทุกระยะรวมกัน (Combined) คือ 98% เช่นเดียวกับมะเร็งทุกชนิด ระยะลุกลามมีอัตราการอยู่รอดต่ำกว่าที่ 31% ในระยะเวลา 5 ปี แม้ว่าการวินิจฉัยครั้งแรกในระยะลุกลาม (Advanced) จะพบได้ยาก

จากข้อมูลนี้ การตรวจคัดกรอง PSA ไม่เข้ากับเกณฑ์ (Criteria) การรวมอยู่ในคำแนะนำการตรวจคัดกรองทั่วไป อย่างไรก็ตาม ควรพูดคุยกับแพทย์ เพราะประวัติการแพทย์ส่วนตัวและครอบครัว อาจเปลี่ยนอัตราความเสี่ยงต่อประโยชน์ (Risk-to-benefit ratio) ควรพิจารณาด้วยว่าการเสียชีวิตอาจไม่ใช่มาตรการผลลัพธ์ (Outcome measure) เพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงในการเกิดการแพร่กระจาย (Metastasis) ของมะเร็ง สามารถลดลงได้ 30% ด้วยการตรวจคัดกรอง PSA แม้ว่าการลดอัตราการเสียชีวิตอาจไม่มีนัยสำคัญ แต่การลดการแพร่กระจายและภาวะแทรกซ้อน (Complication) นั้นมีความสำคัญทางการแพทย์ (Clinical)

ตัวอย่างเช่น การแพร่กระจายไปยังไขสันหลัง (Spinal cord) อาจทำให้เกิดการกดทับ (Compression) ทำให้เกิดอาการปวดที่รักษาได้ยาก (Intractable), อ่อนแรง, และทางเดินปัสสาวะทำงานผิดปกติ (Urinary dysfunction) ในสมองอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ, การบกพร่องทางความคิด (Cognitive impairment), และอาการชัก (Seizure) 

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.